10 ธ.ค. 2558

องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา เปิดสอบครูผู้ช่วย 44 อัตรา

องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา เปิดสอบครูผู้ช่วย 44 อัตรา 

ประกาศองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
เรื่อง รับสมัครคัดเลือกกรณีมีเหตุพิเศษที่ไม่ต้องสอบแข่งขันสำหรับพนักงานจ้าง ปฏิบัติหน้าที่ในสถานศึกษาเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูองค์การ บริหารส่วนจังหวัด ตำแหน่งครูผู้ช่วย
โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 


อัตราเงินเดือนที่จะได้รับ
ข้าราชการครูองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตำแหน่งครูผู้ช่วย อัตราเงินเดือน
– ปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี ขั้น 15,050 บาท
– ปริญญาตรี หลักสูตร 5 ปี ขั้น 15,800 บาท
คุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกกรณีมีเหตุพิเศษ
1) เป็นพนักงานจ้างขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ตำแหน่งผู้ช่วยครู ซึ่งจัดจ้างโดยงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐและหรือจากเงินรายได้ขององค์การ บริหารส่วนจังหวัด และหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นติดต่อกันมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 3 ปี นับถึงวันที่รับสมัคร ทั้งนี้ ต้องปฏิบัติหน้าที่ ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ดำรงตำแหน่งอยู่ปัจจุบันติดต่อกันมาแล้วไม่น้อย กว่า 1 ปี นับถึงวันที่รับสมัคร
2) เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ตามประกาศคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด จังหวัดนครราชสีมา เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วน จังหวัดนครราชสีมา ประกาศ ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2545 หมวดที่ 1 
3) เป็นผู้มีคุณวุฒิตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งครูผู้ช่วย ตามมาตรฐานตำแหน่งที่คณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำภหน ด ทั้งนี้ จะต้องได้คะแนนเฉลี่ยตลอดหลักสูตรปริญญาไม่ต่ำกว่า 2.50
4) เป็นผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือหลักฐานที่ใช้แสดงในการประกอบวิชาชีพครู ตามที่คุรุสภาออกให้เพื่อปฏิบัติหน้าที่สอน
5) เป็นผู้ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ตามแบบประเมินที่คณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำหนด โดยคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแต่ง ตั้ง
การรับสมัคร
กำหนดรับสมัครในระหว่างวันที่ 24-30 ธันวาคม 2558 (รับสมัครไม่น้อยกว่า 5 วันทำการ) โดยให้ผู้ประสงค์จะสมัครเข้ารับการคัดเลือกฯ ยื่นเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ต่อเจ้าหน้าที่รับสมัครในวันและเวลาราชการ ณ ฝ่ายสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง กองการเจ้าหน้าที่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา.
ดาวน์โหลดรายละเอียดประกาสรับสมัคร :: ไฟล์แนบ

จำนวน 50 อัตรา กรมราชทัณฑ์ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการตั้งแต่ 17 ธ.ค.58 – 8 ม.ค.59

จำนวน 50 อัตรา กรมราชทัณฑ์ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการตั้งแต่ 17 ธ.ค.58 – 8 ม.ค.59

ตำแหน่งที่เปิดรับสมัคร
1 ตำแหน่ง :    นักทัณฑวิทยาปฏิบัติการ (งานควบคุมผู้ต้องขังชายและอื่นๆ)
อัตราเงินเดือน :    15,000 – 16,500 บาท
ประเภท :    วิชาการ ระดับปฏิบัติการ
จำนวนตำแหน่งว่าง :    17 ตำแหน่ง
ระดับการศึกษา :    ปริญญาตรี
รายละเอียดวุฒิ :    เป็น ผู้ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา และเป็นผู้สอบผ่านการสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ระดับปริญญาตรี ขึ้นไป ของสำนักงาน ก.พ. .

2 ตำแหน่ง :    นักทัณฑวิทยาปฏิบัติการ (งานควบคุมผู้ต้องขังหญิงและอื่นๆ)
อัตราเงินเดือน :    15,000 – 16,500 บาท
ประเภท :    วิชาการ ระดับปฏิบัติการ
จำนวนตำแหน่งว่าง :    3 ตำแหน่ง
ระดับการศึกษา :    ปริญญาตรี
รายละเอียดวุฒิ :    เป็นผู้ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา และเป็นผู้สอบผ่านการสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ระดับปริญญาตรี ขึ้นไป
ของสำนักงาน ก.พ.

3 ตำแหน่ง :    เจ้าพนักงานราชทัณฑ์ปฏิบัติงาน (งานควบคุมผู้ต้องขังชายและอื่นๆ)
อัตราเงินเดือน :    11,500 – 12,650 บาท
ประเภท :    ทั่วไป ระดับปฏิบัติงาน
จำนวนตำแหน่งว่าง :    30 ตำแหน่ง
ระดับการศึกษา :    – ปวส.
– อนุปริญญา
รายละเอียดวุฒิ :    เป็นผู้ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน หรืออนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าในทุกสาขาวิชา และเป็นผู้สอบผ่านการสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ระดับ ปวส. ขึ้นไป ของสำนักงาน ก.พ.

ผู้ที่สนใจสามารถสมัครงาน ได้ทาง http://correct.thaijobjob.com/
ตั้งแต่ 17 ธ.ค.58 – 8 ม.ค.59 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

สมัครได้เพียงหนึ่งตำแหน่งเท่านั้น

วุฒิ ป.ตรี
ค่าสมัครสอบ 430 บาท (รวมค่าธรรมเนียมธนาคารแล้ว)

วุฒิ ปวส
ค่าสมัครสอบ 330 บาท (รวมค่าธรรมเนียมธนาคารแล้ว)

ชำระเงินได้ที่ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขา.


ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ วันเวลา สถานที่สอบ ในวันที่ 14 มกราคม 2559 ทาง http://correct.thaijobjob.com/


อ่านประกาศรับสมัครงาน
https://drive.google.com/file/d/0B56--yB2PWkOT3AtdmFhVDJvM2s/view

9 ธ.ค. 2558

กรมคุมประพฤติ รับสมัครบุคคลเพื่อสอบบรรจุเข้ารับราชการ จำนวน 2 ตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 14-30 ธันวาคม พ.ศ. 2558

กรมคุมประพฤติ รับสมัครบุคคลเพื่อสอบบรรจุเข้ารับราชการ จำนวน 2 ตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 14-30 ธันวาคม พ.ศ. 2558




ตำแหน่ง นักจิตวิทยาคลินิก

เงินเดือน 15000-16500 บาท

วุฒิ
ได้ รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งทางจิตวิทยาคลินิก และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาจิตวิทยาคลินิก

ปฏิบัติ งานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านจิตวิทยาคลินิก ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบและปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย


ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพ

เงินเดือน 15000-16500 บาท

ได้ รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่งหรือการพยาบาลและการผดุง ครรภ์ชั้นหนึ่ง

ปฏิบัติ งานในฐานผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงานปฏิบัติงานด้านพยาบาลวิชาชีพ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ

ตั้งแต่ วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ถึง วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เว็บไซต์ http://www.probation.go.th
รายละเอียดเพิ่มเติมคลิกที่นี่       สมัครออนไลน์คลิกที่นี่


งานราชการ


กรมคุมประพฤติ รับสมัครบุคคลเพื่อสอบบรรจุเข้ารับราชการ จำนวน 2 ตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 14-30 ธันวาคม พ.ศ. 2558


จำนวน 50 อัตรา กรมราชทัณฑ์ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการตั้งแต่ 17 ธ.ค.58 – 8 ม.ค.59




2 ธ.ค. 2558

แจ่มมาก แนวข้อสอบวิชาทหารราบ มีเฉลย

แจ่มมาก แนวข้อสอบวิชาทหารราบ มีเฉลย

1.   เหตุที่นับว่าสำคัญต้องรายงานด่วน คือ 
ก. เรื่องทหารถึงแก่ความตาย หรือได้รับอันตรายสาหัสเนื่องจากทำลายชีวิตตัวเอง 
ข. เมื่อมีโรคระบาดเกิดขึ้นแก่คนหรือสัตว์ในหรือใกล้ที่ตั้งหน่วยทหาร 
ค. เหตุที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติอย่างร้ายแรง 
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ   ง. ถูกทุกข้อ
2.   เหตุที่นับว่าสำคัญต้องรายงานตรงต่อ รมว.กห. ได้แก่ 
ก. เมื่อมีโรคระบาดเกิดขึ้นแก่คนหรือสัตว์ในหรือใกล้ที่ตั้งหน่วยทหาร 
ข. เหตุที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติอย่างร้ายแรง 
ค. เหตุที่จะทำให้เกิดความไม่สงบขึ้นในกรมกอง 
ง. ถูกทั้งข้อ ข. และ ค. 
ตอบ   ง. ถูกทั้งข้อ ข. และ ค. 
3.   เหตุการณ์ที่นับว่าสำคัญที่หน่วยใน ทบ. จะต้องรายงานต่อ ผบ.ทบ. ได้แก่ 
ก. เมื่อมีโรคระบาดเกิดขึ้นแก่คนหรือสัตว์ในหรือใกล้ที่ตั้งหน่วยทหาร 
ข. เหตุที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติอย่างร้ายแรง 
ค. เหตุที่จะทำให้เกิดความไม่สงบขึ้นในกรมกอง 
ง. ถูกทั้งข้อ ข. และ ค.
ตอบ   ง. ถูกทั้งข้อ ข. และ ค.
4.   เมื่อเกิดเหตุซึ่งเกิดจากการทะเลาะวิวาทจนถึงใช้อาวุธทำการต่อสู้กันขึ้นในหมู่ทหารด้วยกันเองหรือบุคคลอื่นจนถึงแก่ความตายจะต้องรายงานตรงต่อ 
ก. รมว.กห., ผบ.ทบ., ผบ.ทอ., ผบ.ทร. แล้วแต่กรณี 
ข. ผบ.สส., ผบ.ทบ., ผบ.ทอ., ผบ.ทร. แล้วแต่กรณี 
ค. ผบ.ทบ., ผบ.ทอ., ผบ.ทร. แล้วแต่กรณี 
ง. ถูกทุกข้อ 
ตอบ   ข. ผบ.สส., ผบ.ทบ., ผบ.ทอ., ผบ.ทร. แล้วแต่กรณี 
5.   เหตุที่ต้องรายงานต่อ หน.ส่วนราชการขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหม ผบ.ทบ., ผบ.ทอ., ผบ.ทร. ได้แก่ 
ก. เมื่อมีโรคระบาดเกิดขึ้นแก่คนหรือสัตว์ในหรือใกล้ที่ตั้งหน่วย 
ข. เหตุที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติอย่างร้ายแรง 
ค. เหตุที่จะทำให้เกิดความไม่สงบขึ้นในกรมกอง 
ง. ถูกทุกข้อ 
ตอบ  ก. เมื่อมีโรคระบาดเกิดขึ้นแก่คนหรือสัตว์ในหรือใกล้ที่ตั้งหน่วย 
6.   เมื่อเกิดเรื่องทหารถึงแก่ความตายหรือได้รับอันตรายสาหัสเนื่องจากทำลายชีวิตตัวเอง ต้องรายงานตรงต่อ 
ก. ผบ.ทบ., ผบ.ทอ., ผบ.ทร. แล้วแต่กรณี 
ข. ปลัดกระทรวงกลาโหม, ผบ.สส. แล้วแต่กรณี 
ค. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข. 
ง. ไม่มีข้อถูก 
ตอบ  ง. ไม่มีข้อถูก 
7.   เมื่อมีการรายงานด่วนตรงต่อ รมว.กห. แล้วต้องรายงานตรงต่อใคร (แล้วแต่กรณี) 
ก. หน.ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อ กห.          ค. ผบ.ทบ., ผบ.ทอ., ผบ.ทร
 ข. ผบ.สส.                   ง. ถูกทุกข้อ 
ตอบ  ก. หน.ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อ กห.    
8.   เมื่อมีเหตุนับว่าสำคัญเกิดขึ้นแล้วได้รายงานตรงต่อ รมว.กห. แล้วจะต้อง 
ก. รีบรายงานให้หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อ กห., ผบ.ทบ., ผบ.ทอ., ผบ.ทร. แล้วแต่กรณี 
ข. รายงานให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึง ผบ.ทบ., ผบ.ทอ., ผบ.ทร. แล้วแต่กรณี 
ค. รายงานด้วยวาจาให้ผู้บังคับบัญชาทราบ 
ง. ไม่มีข้อใดถูก 
ตอบ   ค. รายงานด้วยวาจาให้ผู้บังคับบัญชาทราบ 
9.   หัวข้อการรายงานด่วนที่สุดตามคำชี้แจงกองทัพบก พ.ศ.2495 คือ 
ก. เมื่อไร, ใคร, ทำไม, ที่ไหน, อย่างไร 
ข. ใคร, อะไร, ที่ไหน, เมื่อไร, อย่างไร 
ค. ใคร, ไปไหน, อะไร, เมื่อไร, อย่างไร 
ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ  ค. ใคร, ไปไหน, อะไร, เมื่อไร, อย่างไร 

10.   ข่าวที่เกี่ยวกับทหารที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์รายวัน หรือรายคาบอันเป็นเรื่องเสื่อมเสียนั้น หากข่าวระบุว่าเป็นทหารหน่วยใด ให้ ผบ.หน่วย รายงานตรงต่อ 
ก. รมว.กห.                   ค. ผบ.ทบ.
 ข. ผบ.สส.                   ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ  ข. ผบ.สส.
11.   หากมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นกรณีที่ไม่สามารถไปรายงานตนยังหน่วยต้นสังกัดได้ ถ้าข้าราชการผู้นั้นอยู่ในกรุงเทพมหานครด้วยเหตุใดก็ตาม ต้องปฏิบัติอย่างไร 
ก. ให้ไปรายงานตนยังหน่วยทหารหรือหน่วยราชการที่อยู่ใกล้ 
ข. ให้ไปรายงานตนที่ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก หรือกองบัญชาการกองทัพบกส่วนหน้า (ถ้ามี) 
ค. ไปรายงานตนที่หน่วยตามข้อ ก. และ ข. หน่วยใดหน่วยหนึ่ง 
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ   ง. ไม่มีข้อใดถูก
12.   หากมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นกรณีที่ไม่สามารถไปรายงานตนยังหน่วยต้นสังกัดได้ ถ้าข้าราชการผู้นั้นอยู่นอกเขตกรุงเทพมหานครด้วยเหตุใดก็ตาม ต้องปฏิบัติอย่างไร 
ก. ให้ไปรายงานตนยังหน่วยทหาร หรือหน่วยราชการกองทัพบกที่อยู่ใกล้ที่สุด 
ข. ให้ไปรายงานตนที่กองบัญชาการกองทัพบกส่วนหน้า 
ค. ให้ไปรายงานตนยังหน่วยทหาร หรือหน่วยราชการกองทัพบกที่อยู่ใกล้ หรือกองบัญชาการกองทัพบก
     ส่วนหน้า (ถ้ามี) 
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ   ก. ให้ไปรายงานตนยังหน่วยทหาร หรือหน่วยราชการกองทัพบกที่อยู่ใกล้ที่สุด 
13.   การไปรายงานตนเมื่อมีเหตุฉุกเฉินและไม่สามารถไปรายงานตนเองยังหน่วยต้นสังกัดได้ ถ้าสามารถทำได้ควรไปรายงาน 
ก. ไปรายงานยังหน่วยทหาร หรือหน่วยราชการกองทัพใด ๆ ก็ได้ที่อยู่ใกล้ 
ข. ไปรายงานยังหน่วยทหาร หรือหน่วยราชการกองทัพบกที่มีงานเหมาะสมแก่หน้าที่ของผู้ไปรายงาน 
ค. ไปรายงานยังหน่วยทหาร หรือหน่วยราชการกองทัพบกที่มีงานเหมาะสมแกหน้าที่ของผู้รับรายงาน 
ง. ไม่มีข้อถูก
ตอบ   ค. ไปรายงานยังหน่วยทหาร หรือหน่วยราชการกองทัพบกที่มีงานเหมาะสมแกหน้าที่ของผู้รับรายงาน

14.   การเดินทางไปปฏิบัติราชการที่เดินทางไปปฏิบัติราชการนอกเขตจังหวัดที่ตนรับราชการ กรณีไปราชการนอกเขตกรุงเทพมหานคร จะต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกต้องตามระเบียบ 
ก. ไปรายงานตัวต่อหัวหน้าหน่วยทหารที่ตนไปติดต่อราชการ หรือหัวหน้าหน่วยทหารเจ้าของพื้นที่ที่ตน
     ไปติดต่อราชการ 
ข. ไปรายงานตัวต่อหัวหน้าหน่วยทหารที่ตนไปติดต่อราชการ หรือหัวหน้าหน่วยทหารเจ้าของพื้นที่ที่ตน
     ไปติดต่อราชการ 
ค. ไปรายงานตัวต่อหัวหน้าหน่วยทหารที่ตนไปติดต่อราชการ หรือหัวหน้าหน่วยทหารเจ้าของพื้นที่ที่ตน
     ไปติดต่อราชการ โดยลงบันทึกรายงานที่หน่วยนั้น ๆ จัดไว้และถ้ารายงานด้วยวาจาได้ก็จะเป็นการดียิ่ง 
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ ก. ไปรายงานตัวต่อหัวหน้าหน่วยทหารที่ตนไปติดต่อราชการ หรือหัวหน้าหน่วยทหารเจ้าของพื้นที่ที่ตนไปติดต่อราชการ 
15.   การลงนามในสมุดรายงานเมื่อไปปฏิบัติราชการนอกจังหวัดที่ตนรับราชการ ให้ไปรายงานเมื่อใด 
ก. ให้ไปรายงานในวันแรกที่ไปถึงเสมอ 
ข. ให้ไปรายงานในวันแรกที่ถึง แต่ถ้าไม่สามารถกระทำได้ก็ให้ไปรายงานในวันรุ่งขึ้น หรือในวันที่เปิดทำ
     การ 
ค. ให้ไปรายงานตัวในวันแรกที่ถึง แต่ถ้าไม่สามารถกระทำได้ก็ให้ไปรายงานในวันเดินทางกลับ 
ง. ไม่มีข้อใดถูก
 ตอบ   ข. ให้ไปรายงานในวันแรกที่ถึง แต่ถ้าไม่สามารถกระทำได้ก็ให้ไปรายงานในวันรุ่งขึ้น หรือในวันที่
 เปิดทำการ 
16.   การแต่งกายเมื่อไปรายงานตัว 
ก. แต่งกายเครื่องแบบทหาร หรือเครื่องแบบข้าราชการกลาโหมพลเรือน 
ข. แต่งกายสุภาพ 
ค. แต่งกายตามข้อ ก. หรือ ข. ก็ได้ตามความเหมาะสม 
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ   ค. แต่งกายตามข้อ ก. หรือ ข. ก็ได้ตามความเหมาะสม 
17.   เมื่อย้ายตำแหน่ง ขั้นตอนการรายงานต่อผู้บังคับบัญชาเดิมซึ่งขาดจากความบังคับบัญชา ปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกต้อง 
ก. รายงานผู้บังคับบัญชาทุกตำแหน่งตามลำดับชั้นลงมา 
ข. รายงานผู้บังคับบัญชาทุกตำแหน่งตามลำดับชั้นขึ้นไป 
ค. รายงานผู้บังคับบัญชาทุกตำแหน่งตามลำดับชั้นสูงลงมา 
ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ  ง. ไม่มีข้อใดถูก
18.   การรายงานตนเองตามข้อบังคับทหารจะต้องรายงานอย่างไร 
ก. รายงานโดยตรง ยศ นาม และตำแหน่งของตน 
ข. รายงานโดยตรง ยศ นาม และตำแหน่งของตน แล้วบอกเรื่องราวที่มีการเปลี่ยนแปลงให้ผู้รับรายงาน
    ทราบ 
ค. รายงานโดยตรง ยศ นาม และตำแหน่งของผู้รับรายงาน แล้วบอกเรื่องราวที่มีการเปลี่ยนแปลงให้ผู้รับ
    รายงานทราบ 
ง. ไม่มีข้อใดถูก 
ตอบ  ข. รายงานโดยตรง ยศ นาม และตำแหน่งของตน แล้วบอกเรื่องราวที่มีการเปลี่ยนแปลงให้ผู้รับรายงานทราบ
19.   ถ้าผู้มีข้อขัดข้องที่จะรายงานด้วยวาจาไม่ได้ สามารถกระทำโดย 
ก. ให้รายงานด้วยหนังสือ 
ข. เขียนลงสมุดรายงาน 
ค. ให้รายงานด้วยหนังสือ หรือเขียนลงในสมุดรายงาน 
ง. ไม่มีข้อใดถูก 
ตอบ  ง. ไม่มีข้อใดถูก
20.   การรับ-ส่งหน้าที่โดยทั่วไป ปกติให้ผู้เริ่มออกเดินทางไปทำการรับ-ส่งหน้าที่ซึ่งกันและกันภายในกี่วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่ง 
ก. 3 วัน                      ค. 15 วัน         
 ข. 7 วัน                      ง. ไม่มีข้อใดถูก
ตอบ  ข. 7 วัน

1 ธ.ค. 2558

แนะนำ แนวข้อสอบ พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก้ไขเพิ่ม เพิ่มความรู้

แนะนำ แนวข้อสอบ พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก้ไขเพิ่ม เพิ่มความรู้

  1. พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. ๒๕๕๑ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อใด
  • ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑                                   ค. ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
  • ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑                                   ง. ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
ตอบ   ค. ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
  1. พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อใด
  • เมื่อพ้นกำหนด 90  วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
  • เมื่อพ้นกำหนด 180  วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
  • เมื่อพ้นกำหนด 30  วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
  • เมื่อพ้นกำหนด 120  วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ตอบ   ข. เมื่อพ้นกำหนด  180  วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
  1. “สินค้าเกษตร” หมายความว่าอย่างไร
  • ผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์อันเกิดจากการกสิกรรม
  • ผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์อันเกิดจากการปศุสัตว์ หรือการป่าไม้
  • ผลพลอยได้ของผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการกสิกรรม
  • ถูกทุกข้อ
ตอบ  ง. ถูกทุกข้อ
  1. มาตรฐานที่มีประกาศกำหนดเพื่อส่งเสริมสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน คือมาตรฐานประเภทใด
  • มาตรฐานทั่วไป ค. มาตรฐานเฉพาะ
  • มาตรฐานบังคับ ง. มาตรฐานจำกัด
ตอบ  ก. มาตรฐานทั่วไป           
  1. มาตรฐานที่มีกฎกระทรวงกำหนดให้สินค้าเกษตรต้องเป็นไปตามมาตรฐาน คือมาตรฐานประเภทใด
  • มาตรฐานทั่วไป ค. มาตรฐานเฉพาะ
  • มาตรฐานบังคับ ง. มาตรฐานจำกัด
ตอบ   ข. มาตรฐานบังคับ         
  1. ข้อใด ไม่ใช่ “ผู้ผลิต” ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. ๒๕๕๑
  • ผู้ซึ่งทำการกสิกรรม การประมง การปศุสัตว์ หรือการป่าไม้เพื่อการบริโภค
  • ผู้ซึ่งทำการกสิกรรม การประมง การปศุสัตว์ หรือการป่าไม้เพื่อการค้า
  • ผู้ซึ่งนำสินค้าเกษตรมาบรรจุหีบห่อ แปรรูป หรือกระทำด้วยวิธีการใด ๆ
  • ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าเกษตร คลังสินค้าเกษตร สะพานปลา ห้องเย็น โรงฆ่าสัตว์หรือกิจการต่อเนื่องอื่นที่เกี่ยวกับสินค้าเกษตรตามที่คณะกรรมการกำหนด
ตอบ   ก. ผู้ซึ่งทำการกสิกรรม การประมง การปศุสัตว์ หรือการป่าไม้เพื่อการบริโภค
  1. ใครคือผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตอบ   ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  1. ใครเป็นประธานในคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร
  • ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • ผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
  • เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ตอบ  ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร
  1. ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งในคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรมีกี่คน
  • 3 คน                                                                     ค. 5  คน
  • ไม่เกิน 3  คน                                                      ง.  4  คน
ตอบ   ข. ไม่เกิน  3  คน
  1. ข้อใดคืออำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร
  • กำหนดนโยบาย แผนงาน และมาตรการเกี่ยวกับการส่งเสริมและดำเนินการมาตรฐานสำหรับสินค้าเกษตร
  • พิจารณาข้อมูลทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยี หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวกับมาตรฐาน
  • พิจารณาอุทธรณ์คำสั่งของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
  • ถูกทุกข้อ
ตอบ  ง. ถูกทุกข้อ
  1. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร
  • ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
  • ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรรมการบริหาร ที่ปรึกษาหรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง
  • มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีบริบูรณ์
  • ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ตอบ   ค. มีอายุไม่ต่ำกว่า  40 ปีบริบูรณ์   
(กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ  มีอายุไม่ต่ำกว่า  35  ปีบริบูรณ์)
  1. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี
  • 2 ปี                                                                        ค. 4  ปี
  • 3 ปี                                                                        ง. 5  ปี
ตอบ   ข. 3  ปี
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่จะดำรงตำแหน่ง
เกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้
  1. ใครมีหน้าที่จัดทำร่างมาตรฐานสำหรับสินค้าเกษตรในกรณีที่คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรเห็นสมควรกำหนดมาตรฐานสำหรับสินค้าเกษตร
  • คณะอนุกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร
  • คณะกรรมการวิชาการ
  • อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
  • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตอบ   ข. คณะกรรมการวิชาการ
  1. คณะกรรมการวิชาการในแต่ละคณะให้มีจำนวนไม่เกินกี่คน
  • 10 คน                                                                   ค. 15  คน
  • 12 คน                                                                   ง. 8  คน
ตอบ  ค. 15  คน
  1. ผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้าที่ขอรับใบอนุญาตต้องมีอายุเท่าใด
  • ไม่ต่ำกว่า 18  ปีบริบูรณ์                                    ค. ไม่ต่ำกว่า  25  ปีบริบูรณ์
  • ไม่ต่ำกว่า 20  ปีบริบูรณ์                                    ง. ไม่ต่ำกว่า  30  ปีบริบูรณ์
ตอบ  ข. ไม่ต่ำกว่า  20  ปีบริบูรณ์
มาตรา ๒๑ ผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้าที่ขอรับใบอนุญาตต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(๑) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
(๒) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
(๓) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๔) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต
(๕) ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาต หรือเคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตแต่เวลาได้ล่วงพ้นมาแล้ว
ไม่น้อยกว่าสองปี
  1. ใบอนุญาตผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้า มีอายุใช้ได้กี่ปี
  • 3 ปี                                                                        ค. 4  ปี
  • 5 ปี                                                                        ง. 1  ปี
ตอบ   ก. 3  ปี               
  1. ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหายหรือชำรุดเสียหายในสาระสำคัญจะต้องขอรับใบแทนจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติภายในกี่วัน
  • 60 วัน                                                                   ค. 90  วัน
  • 20 วัน                                                                   ง. 30  วัน
ตอบ   ง. 30  วัน
  1. ผู้รับใบอนุญาตเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้าซึ่งจะเลิกประกอบกิจการต้องแจ้งเป็นหนังสือให้สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติทราบล่วงหน้าก่อนเลิกประกอบกิจการไม่น้อยกว่ากี่วัน
  • ไม่น้อยกว่า 30 วัน                                             ค. ไม่น้อยกว่า  45 วัน
  • ไม่น้อยกว่า 60 วัน                                             ง. ไม่น้อยกว่า  90 วัน
ตอบ  ข. ไม่น้อยกว่า  60 วัน
  1. ใครเป็นผู้ประกาศการนำเข้าสินค้าเกษตรจากต่างประเทศที่มีมาตรฐานทัดเทียมกับมาตรฐานบังคับโดยไม่ต้องได้รับใบรับรอง
  • ผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
  • คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • รัฐมนตรีโดยคำเสนอแนะของคณะกรรมการ
ตอบ   ง. รัฐมนตรีโดยคำเสนอแนะของคณะกรรมการ
มาตรา ๒๙ รัฐมนตรีโดยคำเสนอแนะของคณะกรรมการอาจประกาศการนำเข้าสินค้าเกษตรจากต่างประเทศที่มีมาตรฐานทัดเทียมกับมาตรฐานบังคับไม่ต้องได้รับใบรับรองตามมาตรา ๒๗ หากปรากฏว่าสินค้าเกษตรนั้นได้รับการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานจากประเทศนั้นที่มีข้อตกลงหรือความร่วมมือระหว่างประเทศเกี่ยวกับการยอมรับผลการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานซึ่งกันและกัน
  1. ใครมีอำนาจสั่งให้ผู้ผลิตผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้าดำเนินการแก้ไขหรือปรับปรุงสินค้าเกษตรให้เป็นไปตามมาตรฐานภายในระยะเวลาที่กำหนด
  • คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ตอบ  ค. สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ